ถ้าเข้าไปดูในโฟลเดอร์ของโปรเจคที่ถูกสร้างขึ้น จะเห็นว่ามันมีองค์ประกอบคือ
Project
--app
--node_modules
--platform
package.json
ซึ่งตัวโค้ดหลักๆ จะอยู่ในโฟลเดอร์ app
เมื่อเข้าไปดู จะพบว่ามีไฟล์ที่สำคัญคือ
- app.js เป็นไฟล์เริ่มต้น จะบอกว่าให้โปรแกรมไปเรียกโมดูลและหน้าไหนมาทำงานเป็นหน้าแรก
- app.css เอาไว้กำหนดรูปแบบ สไตล์การแสดงผลโดยรวมของแอพ
- main-page.xml หน้าอินเตอร์เฟสหลัก
- main-page.js โค้ดที่สัมพันธ์กับ main-page.xml
ถ้าดูรายละเอียดของ app.js จะพบดังนี้
var application = require("application"); application.start({ moduleName: "main-page" });
นั่นคือบรรทัดแรกจะมีการ include โมดูลชื่อ application
บรรทัดที่สองจะสั่งให้ start module โดยที่ไปเริ่มที่หน้าซึ่งมีชื่อว่า main-page (ตรงกับไฟล์ main-page.xml และ main-page.js)
ต่อไป เราจะลองเปิดไฟล์ main-page.xml ซึ่งเป็นส่วนของ interface
<Page xmlns="http://schemas.nativescript.org/tns.xsd" navigatingTo="onNavigatingTo"> <StackLayout> <Label text="Tap the button" class="title"/> <Button text="TAP" tap="{{ onTap }}" /> <Label text="{{ message }}" class="message" textWrap="true"/> </StackLayout> </Page>
ซึ่งจะมีหลายองค์ประกอบ ในที่นี้ถ้าเราแยกส่วนดู จะพบว่าประกอบไปด้วย
- Page คือ หน้านั้น
- StackLayout คือโครงของหน้านั้นว่าจะมีการเรียงอินเตอร์เฟสอย่างไร ในที่นี้เป็นแบบ Stack คือเรียงจากบนลงล่าง หรือ ซ้ายไปขวา
- Label ก็คือข้อความที่เอาไว้แสดงผล
- Button คือปุ่มกด
เนื่องจากโค้ดตัวอย่างนี้ เป็นลักษณะการเขียนโค้ดแบบ Model-View-View-Model ซึ่งอาจจะเข้าใจยาก ในตอนต่อไปเราจะลองเริ่มเขียนแอพแบบโครงสร้างธรรมดาง่ายๆกันดูครับ
No comments:
Post a Comment